วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

9 เรื่องยิ่งใหญ่ พ่อหลวงของแผ่นดิน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี บุคคลสำคัญที่สุดของแผ่นดินไทย ไทยรัฐออนไลน์ รวม 9 เรื่องยิ่งใหญ่มาให้รู้กัน...
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470  
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพในราชสกุล มหิดล อันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เสด็จพระราชสมภพที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น
2.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ พระชนมายุยังไม่เต็ม 19 พรรษา ไม่ทรงรู้พระองค์มาก่อนว่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย และขณะนั้นกำลังทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยโลซาน ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
3.เถลิงถวัลยราชสมบัติ 9 มิถุนายน 2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 สืบแทนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย
4.ในหลวงไม่ทิ้งประชาชน
เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่า จะทรงครองราชสมบัติเพียงชั่วระยะเวลาจัดงานพระบรมศพพระบรมเชษฐาให้สมเกียรติเท่านั้น แต่ความจงรักภักดีของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ที่มีต่อพระองค์อย่างแน่นแฟ้น ยังผลให้ตัดสินพระราชหฤทัยรับราชสมบัติ  
ซึ่งมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 เพื่อทรงศึกษาวิชาการเพิ่มเติม ระหว่างประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า “ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน” ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้”
5.การตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์
การตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ไม่เพียงแต่จะทำให้ประเทศไทยและคนไทยคลายความโศกเศร้าที่ต้องเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไปเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศไทยและคนไทยได้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ผู้ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะอุทิศทั้งพระวรกายและพระหฤทัย เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ในทันทีที่ทรงรับราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาจากวิชาวิทยาศาสตร์ไปเป็นวิชาสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ โดยที่ทรงเห็นว่าเป็นวิชาที่สำคัญและจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ
6. พระราชกรณียกิจบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ประชาชน
ตลอดระยะเวลาที่ทรงอยู่ในฐานะพระมหากษัตยริย์ พระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปฏิบัติมานั้น เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาคิดถึงแต่การที่จะบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ประชาชน คนไทยส่วนใหญ่เป็นกสิกร อาศัยดินและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพ เพราะฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในเรื่องดินและน้ำ ยังทรงคิดค้นหาวิธีที่จะให้กสิกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นดินและแหล่งน้ำในประเทศไทยอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปสารทิศใดก็ตาม ทรงศึกษาทั้งสองเรื่องอย่างละเอียดลึกซึ้ง
7. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ครั้งแรก
เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาคนโตของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ครั้งแรกที่กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ.2490 ขณะนั้นพระบิดาทรงเป็นอัครราชทูตและครอบครัวได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเสมอ
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ได้เกิดงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสจัดขึ้น ณ พระตำหนักใหม่วังสระปทุม วันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพระตำหนักชั้นบนพร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถวายดอกไม้ธูปเทียนแพแด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าตอนกลางคืนมีงานพระราชทานเลี้ยงเป็นการภายใน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในหมู่พระประยูรญาติและข้าราชบริพารใกล้ชิดไม่เกิน 20 คน นับเป็นงานฉลองพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสที่เล็กที่สุดงานหนึ่ง  

8.เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
ต่อมา วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตยริย์พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเปล่งเสียงพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม หลังจากนั้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
9.พ่อของแผ่นดิน ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 เป็นธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือคุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน มีด้วยกัน 10 ประการ คือ
1. ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ
2. ศีล ความประพฤติดีงาม
3.ปริจจาคะ ความเสียสละ
4.อาชชวะ ความซื่อตรง
5.มัททวะ ความอ่อนโยน
6.ตปะ ความทรงเดชเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ
7.อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ
8.อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน
9.ขันติ ความอดทนเข้มแข็ง ไม่ท้อถอย
10.อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม

ที่มา : หนังสือ พระเจ้าอยู่หัว กระทรวงศึกษาธิการ 
www.thairath.co.th/content/753036

"การแต่งกายไว้ทุกข์"


การแต่งกายไว้ทุกข์
         
          การแต่งกายไว้ทุกข์ เพื่อไว้อาลัย จะต้องแต่งอย่างไรถึงจะดูสุภาพ วันนี้กระปุกดอทคอมมีแนวการแต่งตัวไว้ทุกข์มาเป็นแนวทางปฏิบัติให้ทราบกันค่ะ


          ด้วยความอาลัยอย่างสุดซึ้งเนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต พสกนิกรชาวไทยจึงพร้อมใจกันแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยชุดสีขาว-ดำ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้อง และถูกกาลเทศะ การแต่งกายไว้ทุกข์เพื่อถวายความอาลัยควรจะปฏิบัติอย่างไร กระปุกดอทคอมมีแนวทางมาบอกให้ทราบกันค่ะ

          สำหรับ "การแต่งกายไว้ทุกข์" ตามจารีตประเพณีแต่โบราณของไทย มักจะแต่งกายในชุดขาว-ดำ เพื่อเป็นการไว้อาลัยและเคารพต่อผู้ที่จากไป โดยคนที่ใส่สีดำนั้นจะเป็นการบ่งบอกว่าเป็นญาติผู้ใหญ่ มีตำแหน่งสูง หรือสูงวัยกว่าผู้ตาย ส่วนสีขาวคือผู้ที่อายุน้อยกว่า หรือมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ตาย ทั้งนี้ต่อมาได้มีการนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา การแต่งกายไว้ทุกข์จึงเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือขาว-ดำ แต่ในกรณีของพระมหากษัตริย์นั้น ประชาชนควรใส่สีดำเป็นพื้นฐาน หรือถ้าหากไม่มีจริง ๆ อาจใส่สีขาวหรือสีเทาสลับกันได้ แต่ควรเป็นแบบที่สุภาพ และไม่มีลวดลาย

การแต่งกายไว้ทุกข์แบบสุภาพควรแต่งอย่างไร

การแต่งกายไว้ทุกข์
         
          เสื้อ - 
ไม่ควรใส่เสื้อที่รัดรูปมากจนเกินไป ควรเป็นเสื้อแบบมีแขน คอไม่กว้าง ไม่มีลวดลาย และไม่ควรมีตราสัญลักษณ์อยู่บนเสื้อ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และผิดกาลเทศะ สำหรับสีนั้นควรใส่สีดำเป็นหลัก แต่ถ้าหากไม่มีจริง ๆ อาจใส่สีขาวหรือสีเทา และติดริบบิ้นสีดำไว้อาลัยที่หน้าอกด้านซ้ายแทนได้

การแต่งกายไว้ทุกข์
         
          กางเกง - 
ควรเป็นกางเกงขายาว หากใส่ไว้อาลัยทั่วไปสามารถใส่กางเกงยีนส์ได้ แต่ไม่ควรเป็นกางเกงยีนส์ขาด และควรใส่สีเข้มเท่านั้น ทั้งนี้ในกรณีที่ใส่ไปร่วมถวายสักการะพระบรมศพควรเป็นกางเกงขายาวแบบไม่รัดรูป ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์หรือสกินนี่

การแต่งกายไว้ทุกข์
          
          กระโปรง หรือชุดเดรส - 
ควรเป็นกระโปรงที่ยาวคลุมเข่า แบบที่สุภาพเรียบร้อย สำหรับชุดเดรสที่เป็นแขนกุดควรหาเสื้อนอกสีดำแบบเรียบ ๆ มาคลุมทับ อย่างเช่น เสื้อคาร์ดิแกน หรือเสื้อสูท เป็นต้น

การแต่งกายไว้ทุกข์
          
          รองเท้า - 
รองเท้าควรเป็นแบบที่สุภาพ มีปิดด้านหน้าและด้านหลัง อาจจะเป็นสีดำหรือสีเรียบ ๆ ไม่มีการประดับตกแต่งแวววาว

          นอกจากนี้ทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้ออกประกาศแนวทางเรื่องการแต่งกายไว้ทุกข์เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต โดยระบุว่า
          ตามที่ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 และรัฐบาลได้กำหนดให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ทุกข์มีกำหนด 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป

          เพื่อให้การแต่งกายไว้ทุกข์เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต เป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับระเบียบการแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ พุทธศักราช 2484 จึงเห็นสมควรกำหนดการแต่งกายของข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไว้ดังนี้
1. กรณีไปร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ

          ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามหมายรับสั่งหรือหมายกำหนดการของพระราชวัง โดยให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำ ขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซนติเมตร พันแขนเสื้อเบื้องบน

2. กรณีไม่ได้ร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ

          2.1 กรณีแต่งเครื่องแบบปฏิบัติราชการ (เครื่องแบบสีกากีคอพับ และเครื่องแบบสีกากีคอแบะ) การแต่งเครื่องแบบไม่ต้องใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำดังกล่าวพันแขนเสื้อซ้ายเบื้องบน

          2.2 กรณีการแต่งกายทั่วไป ในการปฏิบัติราชการ

          2.2.1 ข้าราชการชาย ให้แต่งด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีดำ ผูกเนคไทสีดำ หากจะสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคลุมให้ใช้สีดำ โดยอาจใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำดังกล่าวพันแขนเสื้อเบื้องบนได้ตามสมควร

          2.2.2 ข้าราชการหญิง ให้แต่งกายสุภาพตามรัฐพิธี โดยให้ใช้เครื่องดำล้วน

          3. กรณีข้าราชการที่มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างอื่นเป็นการเฉพาะให้แต่งกายตามนั้น
          4. กรณีการแต่งกายของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ให้อนุโลมตามข้อ 1 และข้อ 2



ข้อมูลจาก : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี http://women.kapook.com/view158908.html
ภาพจาก : dahong.co.kr, judbibian.co.kr, stylenanda.com, ggsing.com, dodostyle.com, ssunny.co.kr, michyeora.com, 09women